02-869-7779

hours : mon - sat 08.30 - 17.00

  • I-BEAM – เหล็กไอบีม
  • I-BEAM – เหล็กไอบีม
  • I-BEAM – เหล็กไอบีม
  • I-BEAM – เหล็กไอบีม
  • I-BEAM – เหล็กไอบีม

I-BEAM – เหล็กไอบีม

รายละเอียดสินค้า

เหล็กไอบีม มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น เหล็กตัวไอ เหล็กปีกไอ เสาบีม โดยเหล็กไอบีม จัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) ลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ (I) มีรูปทรงที่ใกล้เคียงกับเหล็กเอชบีม สามารถสังเกตจุดต่างได้บริเวณปีกของเหล็ก เหล็กเอชบีม (H-Beam) ปีกทั้งบนและล่าง จะเป็นแผ่นเรียบ ทำมุมฉากเท่ากันตลอด ส่วนเหล็กไอบีม (I-Beam) ปีกจะเป็นมุมลบเหลี่ยม แผ่นเอียง ความกว้างและความสูงแต่ละด้านไม่เท่ากัน โดยเหล็กไอบีม จะสามารถรับน้ำหนัก รองรับการกระแทกได้มากกว่า

เหล็กไอบีม (I-BEAM) เหมาะสำหรับ การนำไปใช้ทำรางเครน (Crane Girder) ในโรงงานอุตสาหกรรม งานเครื่องจักร ทำเสา คาน งานโครงสร้างต่างๆ ที่ต้องรองรับน้ำหนักมากๆ

สำหรับประเทศไทยส่วนใหญ่จะนำเหล็กไอบีม SS400,SS54 ไปใช้งาน

มาตรฐาน

ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก. 1227-2558 (2015)

GRADE : SS400 SS490 SS540 SM400 SM490 SM520

มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1 เมตร, 6 เมตร, 9 เมตร, 12 เมตร

Description

เหล็ก ไอบีม I-BEAMS มอก. 1227-2558 เหมาะสำหรับการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ หรืองานโครงสร้างชนิดต่างๆ เช่นโรงงาน โครงหลังคา อาคารสูง เสาและ เสาส่งไฟฟ้า นิยมใช้กับงาน ที่รับแรงมากเช่น รางเครน น้ำหนักเหล็กจะสูงกว่า เอชบีม และสามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่าเหล็กเฮชบีม หน้าตัดรูปตัวไอ I-BEAM ปีกเหล็กจะหนาขึ้นที่โคนปีก จึงรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะกับงานเครื่องจักร รางเครน เป็นต้น

ในเรื่องของการนำไปใช้ เหล็ก H-BEAM กับ I-BEAM นั้นผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานที่ต่างกัน H-BEAM จะใช้สำหรับโครงสร้างขนาดย่อมๆ เช่น งานบ้าน หรืออาคารขนาดเล็ก รับน้ำหนักได้ดี แต่รับแรงกระแทกได้ไม่มาก ซึ่งต่างจากเหล็ก I-BEAM ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับแรงกระแทกหนักๆ อย่างรางเลื่อน ตัวเครนยกของหนักๆ ตามโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างขนาดใหญ่

ข้อดีของการใช้เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
  • ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยของโครงการ เปิดใช้งานได้รวดเร็ว
  • เตรียมงานจากโรงงานได้ และใช้แรงงานน้อยกว่าการก่อสร้างด้วยระบบอื่น
  • ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้าง กว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
  • ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลายเช่น ตัดโค้ง ทำใครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่่นได้มาก
  • โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก ลดการขนส่ง และพื้นที่กองเก็บวัสดุ
  • ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
  • มีความแข็งแรง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหว ได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
  • ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่น
  • ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
  • สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
PRODUCT SPECIFICATION
Nominal Size
Standard Sectional Dimension
Weight
H
B
t1
t2
r1
r2
mm
mm
mm
mm
mm
mm
mm
kg/m
kg/6m
kg/9m
kg/12m
150 x 75 150 75 5.5 9.5 9 4.5 17.1 102.6 153.9 205.2
200 x 100 200 100 7 10 10 5 26 156 234 312
200 x 150 200 150 9 16 15 7.5 50.4 302.4 453.6 604.8
250 x 125 250 125 7.5 12.5 12 6 38.3 229.8 344.7 459.6
250 x 125 250 125 10 19 21 10.5 55.5 333 499.5 666
300 x 150 300 150 8 13 12 6 48.3 289.8 434.7 579.6
300 x 150 300 150 10 18.5 19 9.5 65.5 393 589.5 786
300 x 150 300 150 11.5 22 23 11.5 76.8 460.8 691.2 921.6
350 x 150 350 150 9 15 13 6.5 58.8 351 526.5 702
350 x 150 350 150 12 24 25 12.5 87.2 523.2 784.8 1046.4
400 x 150 400 150 10 18 17 8.5 72 432 648 864
400 x 150 400 150 12.5 25 27 13.5 95.8 574.8 862.2 1149.6
450 x 175 450 175 11 20 19 9.5 91.7 550.2 825.3 1100.4
450 x 175 450 175 13 26 27 13.5 115 690 1035 1380
600 x 190 600 190 13 25 25 12.5 133 798 1197 1596
600 x 190 600 190 16 35 38 19 176 1056 1584 2112
เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กไอบีม เหล็กเอชบีม ความคล้ายที่แตกต่าง

เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กไอบีม เหล็กเอชบีม (Wide Flange, I beam, H beam) แตกต่างกันอย่างไร บางคนมักมองไม่เห็นความแตกต่างของเหล็กแต่ละชนิด และ ถ้าหากหน้าตาของเหล็กมีควาามคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเล็กน้อย ยิ่งทำให้ไม่สามารถแยกเหล็กแต่ละชนิดออกได้ และไม่สามารถนำไปใช้งานให้ตรงกับลักษณะงานก่อสร้างของตนเองได้เช่นกัน ดังนั้น เรามาศึกษาวิธีการแยกความแตกต่างของเหล็กแต่ละชนิดสามารถทำได้ ดังนี้

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ลวดข้ออ้อย
เหล็กไวด์แฟรงค์ WIDE FLANGE
ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ลวดข้ออ้อย
เหล็กเอชบีม H BEAM
ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ลวดข้ออ้อย
เหล็กไอบีม I BEAM
  • เหล็กไวแฟรงค์ WF จะมีลักษณะเด่นตรงที่ ความกว้างของแผ่นเหล็กตรงกลางจะมากกว่าปีกทั้งที่ข้าง และ มีความหนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง เสา คาน โครงสร้างหลังคา นิยมในงานโครงสร้าง ซึงนำมาใช้แทนโครงสร้างคอนกรีต เพราะการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนการทำงาน การดูแลรักษาที่ทำได้ง่ายกว่า และมีสไตล์ที่โดดเด่นกว่า
  • เหล็กเอชบีม เหล็ก ตัว H ลักษณะเด่นคือ ปีกมีความกว้างเท่ากันกับความกว้างของแผ่นตรงกลาง ดีไซน์ลักษณะของตัวเหล็กเป็นรูปตัวเอช นิยมใช้ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัพย์ เพราะลักษณะเฉพาะตัวที่สวยงามเป็นเทรนด์ก่อสร้างที่ทันสมัย แข็งแรงคงทน เป็นโครงสร้างหลักได้ดี ควรค่าแก่การลงทุน
  • เหล็กไอบีม เหล็กตัวไอ จะมีลักษณะของ ปีกบนและปีกล่างเป็นแผ่นเอียง ความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อสามารถรับแรงกระแทกได้ดี เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน มีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-Beam เหมาะสมกับงานก่อสร้างที่รับน้ำหนักมาก รับแรงกระแทกสูง เหมาะสมกับงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีความหนามากกว่าเหล็กชนิดอื่น จะนิยมนำไปทำรางเคนยกของที่มีน้ำหนักมาก

OUR CUSTOMER

เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในส่วนของภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนโครงการต่างๆ มากมาย เป็นความภาคภูมิใจ ในการพัฒนาองค์กรของเราให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น