02-869-7779

hours : mon - sat 08.30 - 17.00

  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
  • DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย

DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย

รายละเอียดสินค้า

เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Steel Bars ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DB นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหลากหลายไม่ว่าจะเป็น เหล็กอ้อย เหล็กบั้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นปล้องคล้ายกับอ้อย โดยมีระยะบั้งที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีรอยแตกร้าว ซึ่งจะช่วยให้เหล็กยึดเหนี่ยวกับคอนกรีตได้ดี ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รับรองตามมาตรฐานมอก. 24-2559 โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 – 40 มิลลิเมตร

ทำให้โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรง เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนมากมักจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น คาน เสา พื้นถนน สะพาน เขื่อน บ้าน อาคาร คอนโดมิเนียม สนามบิน และงานก่อสร้างที่มีแรงอัดมากๆ เป็นต้น
มาตรฐาน
  • ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก. 24-2559
  • GRADE : SD40 , SD50
  • มีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร

Description

เหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40 และ SD50 เป็นเหล็กเส้นแบบเดียวกัน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 10 – 40 มม. และผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) 24-2559 แต่ความแตกต่างของเหล็กแต่ละแบบนั้นจะอยู่ที่ค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดคราก (มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (กก. / ตร.ซม. หรือ ksc)) เช่น SD30 หมายถึงเหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3,000 ksc ส่วน SD40 และ SD50 หมายถึง เหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 4,000 ksc และ 5,000 ksc ตามลำดับ

PRODUCT SPECIFICATION
TYPE (SD40)
DIAMETER
Cross Sectional Area
Weight
(sq.mm)
kg/m
kg/10m
kg/12m
DB10 10 78.54 0.616 6.16 7.392
DB12 12 113.1 0.888 8.88 10.656
DB16 16 201.06 1.578 15.78 18.936
DB20 20 314.16 2.466 24.66 29.592
DB25 25 490.87 3.853 38.53 46.236
DB28 28 615.75 4.834 48.34 58.008
DB32 32 804.25 6.313 63.13 75.756
DB36 36 1017.88 7.99 79.9 95.88
DB40 40 1256.64 9.865 98.65 118.38
สัญลักษณ์ตัว T บนเนื้อเหล็กเส้นข้ออ้อย คืออะไร

สัญลักษณ์ตัว T ย่อมาจาก Tempcore Rebar เป็นหลักการและขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย ที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน โดยเริ่มด้วยการรีดร้อน เหมือนกับการผลิตเหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน แต่หลังจากการที่รีดได้ตามขนาดที่ต้องการแล้ว มีกระบวนการสเปรย์น้ำที่ผิวของเหล็ก และปล่อยให้เหล็กเย็นตัวทั่วทั้งเส้น ทำให้ได้เหล็กที่ได้มาตรฐาน ในอุณหภูมิที่ปกติ โดยกระบวนการ Tempcore นี้ ยังคงคุณสมบัติเหล็กข้ออ้อย ดังต่อไปนี้

  • คุณสมบัติทางกล เช่น กำลังดึง การดัดโค้ง ความยืด ซึ่งนับว่าไม่แตกต่างจากเหล็กที่ไม่ผ่านกระบวนการ Tempcore
  • การต่อด้วยความยาว ด้วยข้อต่อทางกล หรือ Coupler หรือการเชื่อม ไม่ทำให้กำลังเหล็กลดลง
  • การทนไฟ หากมีการหุ้มคอนกรีตตามระยะที่กฏหมายกำหนด ไม่มีผลแตกต่างแต่อย่างใด
  • การทดสอบ การทดสอบเหล็กที่ผ่านกระบวนการความร้อนนี้ ไม่ควรมี การกลึงลดขนาดเหล็กก่อนการทดสอบ

ลักษณะเหล็กที่ดี มีคุณภาพ ควรมีข้อพิจารณาสำคัญ 2 หลักการใหญ่

ผิวเหล็ก
  • เหล็กเส้นกลม ต้องผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก ลุกคลื่น หน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก
  • เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
การผลิตเหล็กเส้น

การผลิตเหล็กเส้น เกิดจากการป้อนเศษเหล็ก ปูนขาว และถ่านโค๊กที่มีคุณภาพในประมาณที่เหมาะสมเข้าเตาอาร์คไฟฟ้า EAF ในระหว่างการหลอมเหล็กที่ได้ จะผ่านกรรมวิธีทางเคมี และความร้อนเพื่อปรุงส่วนผสม เมื่อน้ำเหล็กมีอุณหภูมิและส่วนผสมทางเคมีที่ถูกต้อง หลังจากการตรวจสอบจากห้องทดลองแล้ว น้ำเหล็กจะถูกส่งมายังเครื่องหล่อแบบต่อเนื่อง เพื่อผลิตบิลเล็ตที่มีคุณภาพสูงต่อไป

บิลเล็ตที่ได้นี้ จะถูกนำเข้าตาอบที่อุณหภูมิสูง 1050 องศาเซลเซียส เพื่อปรับสภาพเนื้อเหล็กที่สามารถถูกรีดลดขนาดตามต้องการได้

โลหะวิทยาของเหล็กกล้า

เหล็กเส้นที่ผลิตในประเทศไทยนั้น ในเชิงวิชาการจัดได้ว่าอยู่ในหมวดเหล็กกล้าคาร์บอน ซึ่งเป็นเหล็กที่ได้คุณสมบัติการใช้งานจากธาตุผสมเพียง 3 ธาตุ อันได้แก่ คาร์บอน ซิลิกอน และ แมงกานีส นอกจากเหล็กกล้าคาร์บอนแล้ว เหล็กกลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ เหล็กกล้าเครื่องมือและเหล็กกล้าผสม มีธาตุผสมของโครเมี่ยม นิกเกิล วาเนเดียม เหล็กกล้าความเร็วสูง อันได้แก่ เหล็กกล้าสำหรับงานเชื่อม ที่มีแมงกานีสสูง เป็นต้น

เหล็กกล้าคาร์บอนที่ผลิตในประเทศไทย สามารถแบ่งย่อยได้เป็นสองกลุ่ม อันได้แก่ เหล็กกล้าที่มีธาตุคาร์บอนน้อยกว่า 0.25% เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำนี้ นำมาทำเหล็กลวดและเหล็กเส้น กลุ่มที่สองนี้ได้แก่ เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง มีคาร์บอนระหว่าง 0.25-0.35% เหล็กกลุ่มนี้เหมาะที่จะนำไปทำเหล็กข้ออ้อย

ขั้นคุณภาพ
ส่วนประกอบทางเคมี (หน่วยเป็นร้อยละ)
คาร์บอนสูงสุด
แมงกานีสสูงสุด
ฟอสฟอรัสสูงสุด
กำมะถันสูงสุด
คาร์บอน+แมงกานีส/6
SD30 0.27 - 0.05 0.05 0.5
SD40 - 1.8 0.05 0.05 0.55
SD50 - 1.8 0.05 0.05 0.6
ค่าแรงดึง และการยึดตัวที่เป็นข้อกำหนดการใช้งานของเหล็กกล้าคาร์บอน

โดยจะแบ่งได้เป็นสัดส่วนดังนี้

ส่วนผสมและอัตราส่วนการผสมของคาร์บอน ซิลิกอน แมงกานีส และในบางกรณีมีธาตุวานาเดียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ความแข็งแรง แต่ขณะเดียวกัน ก็จะลดการยืดตัวของเหล็กเช่นกัน ในขณะที่แมงกานีสจะมีผลในการเพิ่มแรงดึงสูงสุดและการยืดตัว อย่างไรก็ตาม การปรับปริมาณของธาตุทั้งสาม ต้องให้กิดความสมดุล มิฉะนั้นจะทำให้เหล็กไม่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ

คุณภาพของเนื้อเหล็กระหว่างการหลอม และเท เป็นแท่ง เป็นส่วนสำคัญขั้นที่สอง เพื่อให้ได้เหล็กแท่งเนื้อสะอาด มีขนาดผลึก และการกระจายตัวทางเคมีที่สม่ำเสมอ

ประสิทธิภาพและวิศวกรรมของเครื่องรีดและการควบคุมการรีด โดยทางโรงงานเลือกใช้นวัตกรรมของเครื่องจักรสำหรับศตวรรษนี้ อันได้แก่เครื่องจักรทั้งชุด ควบคุมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แท่นรีด เป็นระบบ H-V และมีระบบการปรับลดอุณหภูมิของเหล็กที่แม่นยำ

ขั้นคุณภาพ
ความต้านแรงดึง (เมกะพาสคัล)
ความต้านแรงดึง (เมกะพาสคัล)
ความยืด (%)
SD30 480 295 17
SD40 560 390 15
SD50 620 490 13
เหล็กข้อกลม กับ เหล็กข้ออ้อย ?

เหล็กเสริมในคอนกรีตแบ่งง่ายๆ เป็นสองประเภท คือ เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB) และเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars : DB) เหล็กเส้นกลมจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 6 – 28 มม.ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 10 – 40 มม. เหล็กทั้งสองประเภท จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันโดยจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลักเนื่องจากรับแรงได้ดีกว่า และใช้เหล็กเส้นกลม ขนาดหน้าตัดเล็กกว่าเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กข้ออ้อยเป็นระยะๆ สังเกตง่ายๆ คือ

  • ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ
  • ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า
เหล็กเส้น ที่มีคุณภาพ ดูยังไง?

จะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่

  • บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)
  • ชั้นคุณภาพ (Grade)
  • ขนาด (Size)
  • ความยาว (Length)
  • วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)
  • เครื่องหมาย มอก.
การใช้งานเหล็กข้ออ้อย
  • ใช้ทำตะแกรงไวร์เมช
  • ใช้เสริมคอนกรีต เช่นหล่อเสา
  • ใช้ผูกเป็นไวร์เมช
  • ใช้ทำปลอกเสา
  • ใช้ทำปลอกคาน

OUR CUSTOMER

เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในส่วนของภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนโครงการต่างๆ มากมาย เป็นความภาคภูมิใจ ในการพัฒนาองค์กรของเราให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น